สมาชิกกิตติมศักดิ์

สมาชิกกิตติมศักดิ์

ร้อยเอก หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล

เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2499  ชื่อเล่น : พี่เหลน

หน้าที่ การงาน

  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ประธานกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบูรณาการการพัฒนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ประธานคณะกรรมการติดตามการป้องกันและปราบปรามกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์
  • อดีตประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
  • และอดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย

ครอบครัว

      เป็นบุตรชายคนเดียวของ พลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล อดีตเสรีไทย และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำหลายประเทศ กับมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา และเป็นปนัดดา (เหลน) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เกิดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันสมรสกับนางอัมพร ดิศกุล ณ อยุธยา และมีบุตรชายคนเดียว คือ วรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา

การศึกษา

  • ในระดับประถม(รุ่นที่ 10)และมัธยมที่โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร
  • จากนั้นจึงติดตามครอบครัวไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ณ โรงเรียนเตรียมทหารคิงส์ ประเทศออสเตรเลีย โดยสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์
  • ปริญญาโททางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก Brigham Young University สหรัฐอเมริกา
  • ได้เข้าศึกษาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ไทย-ญี่ปุ่น เปรียบเทียบ ณ Sophia University ประเทศญี่ปุ่น
  • หม่อมหลวงปนัดดา ผ่านการศึกษาหลักสูตร"นักปกครองชั้นสูง " จากวิทยาลัยมหาดไทย
  • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 2550

ราชการ

ข้าราชการประจำ

  • หม่อมหลวงปนัดดา เริ่มต้นเข้ารับราชการในกองทัพบก ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดส่วนการศึกษา กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นยศร้อยเอก
  • เข้าศึกษาหลักสูตรกระโดดร่ม (ส่งทางอากาศ) รุ่นที่ 144
  • หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารม้า
  • จากนั้นได้โอนย้ายมารับราชการ สังกัดกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ
  • ปี พ.ศ. 2541 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนนโยบายการเมืองการปกครอง และการบริหาร สำนักนโยบายและแผน
  • ปี พ.ศ. 2542หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย
  • ปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
  • พ.ศ. 2547 รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
  • พ.ศ. 2550 รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
  • ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 10 (ชช.) ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • ปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
  • ปี พ.ศ. 2553 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • ในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • และ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีกหน้าที่หนึ่ง
  • แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 หม่อมหลวงปนัดดา ได้ขอลาออกจากราชการเพื่อทำหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพียงหน้าที่เดียว

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ได้รับพระราชโองการแต่งตั้งให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รางวัลดีเด่น

หม่อมหลวงปนัดดา ได้รับรางวัลดีเด่นหลายรางวัล อาทิ

  • ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็น “ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ” ของกระทรวงมหาดไทย ประจำปี พ.ศ. 2532 โดยสอบเลื่อนระดับ 6 ได้เป็นอันดับที่ 1 ของกระทรวงมหาดไทยในปีนั้น
  • ได้รับรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2549 จากโรงเรียนสาธิตศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
  • ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็น “ศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในวัน ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี” ประจำปี พ.ศ. 2549
  • ได้รับรางวัล “คนดี ศรีสยาม” ประจำปี พ.ศ. 2549 จากสหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ประจำปี พ.ศ. 2549
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” ประจำปี พ.ศ. 2550
  • ได้รับรางวัลกิติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" ครั้งที่ 23 ประจำปี 2552-2553
  • ได้รับพระราชทานปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ได้รับรางวัล "ครุฑทองคำ" ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2553-2554 ของสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศโล่เชิดชูเกียรติ “ยกย่องให้เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2555” ของ สำนักงาน ป.ป.ช.
  • ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2556
  • และล่าสุดนี้ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "ข้าราชการผู้สร้างชื่อเสียงให้กับกระทรวงมหาดไทย" ปี 2559

 

พล.อ. พิศาล วัฒนวงษ์คีรี 

เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2492 ชื่อเล่น พี่อ๊อด

เป็นคนเชียงใหม่แต่กำเนิด เพราะเกิดที่โรงพยาบาลแมคคอมิค คุณพ่อเป็นทหารมีบ้านพักอยู่ในค่ายกาวิละ ส่วนคุณแม่เป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 

จบนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 9 จบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.รุ่นที่ 20

จบการศึกษาได้บรรจุเข้าประจำการที่ ร.1 พัน 2 รอ. ถนนแจ้งวัฒนะ หลังจากนั้น ได้เดินทางไปรบที่ประเทศลาวในปี 2516

การเป็นทหารของพี่อ๊อดเติบโตและไต่เต้าขึ้นมาเรื่อยๆที่ ร.1 พัน 2 รอ. จากผู้หมวดเป็นรองผู้บังคับกองร้อย เป็นผู้บังคับกองร้อย

กระทั่งถูกย้ายไปภาคใต้ ไปปราบกบฏ 26 มีนาคม จึงทำให้ได้รู้จัก แม่ทัพจวน วรรณรัตน์ ได้ติดสอยห้อยตามเป็น ทส.ของแม่ทัพจวนอยู่ที่ทัพภาค 4 กระทั่งแม่ทัพจวนเกษียณ นึกว่าจะได้กลับเข้ากรุงเทพฯ แต่กลับต้องอยู่ที่ภาคใต้ต่อมาอีกค่อนชีวิต

พี่อ๊อด ถือเป็นผู้ที่ทำให้กีฬาคนพิการของไทยโด่งดังอย่างมากในการแข่งขันระดับโลก จนสหประชาชาติให้รางวัล และได้เป็นบุคคลดีเด่นของชาติด้วย

เส้นทางชีวิตที่ภาคใต้

ไปอยู่ใต้ตั้งแต่ปี 2521 ชีวิตไปเริ่มที่ภาคใต้เพราะแรกทีเดียวไปปราบกบฎ 26 มีนาคม ทำให้รู้จักแม่ทัพภาค 4 ในสมัยนั้นจนกลายเป็น ทส.ท่าน แล้วไปอยู่ ร.5 พัน 4 ไปทำโครงการพระราชดำริที่นั่น ได้เข้าไปฝึกทหารเสือราชินี โดยพันตรีณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช

ต่อมาไปทำโครงการลุ่มน้ำคลองหอยโข่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มี ผกค.ชุดสุดท้ายเข้ามอบตัว

ประมาณปลายปี 2526 เอาเครื่องมือแพทย์ มีทุกอย่างเป็นของประเทศสวีเดนทั้งหมดมามอบให้ มูลค่าสูงมากประมาณ 20 กว่าล้าน ปกติ ผกค.จะไม่เอาเครื่องมือแพทย์มามอบ เพราะต้องใช้รักษาคนที่ยังอยู่ ถ้าเอามามอบให้-แสดงว่า หมดแล้ว

ก่อนหน้านี้ประมาณต้นปี 2525 ไปเรียนเสธ.ที่กรุงเทพฯ ช่วงนั้นแม่ทัพภาค 4 เป็น พล.อ.หาญ ลีลานนท์ เรียนจบกลับไปช่วยทำโครงการใต้ร่มเย็น ที่ ผกค.ออกมามอบตัว และมีโครงการพระราชดำริอีกหลายโครงการ คือ ติดใจภาคใต้แล้ว มาถึงตอนนี้แม่ทัพหาญท่านมาเป็นประธานที่ปรึกษา

ดูเหมือนจะเป็นทหารนักพัฒนามากกว่าเป็นนักรบ

มีทั้งพัฒนา มีทั้งรบทั้งปราบมาตลอด สลับกับไปตามเสด็จฯบ้าง ในช่วงนั้นได้ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการกองกำลังผสมเฉพาะกิจไทย-มาเลเซียในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทั่งได้ขึ้นพันเอกพิเศษที่รองผู้การจังหวัดทหารบกสุราษฏรธานี แล้วขึ้นพลตรีในตำแหน่งฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม ถือเป็นปีที่ได้กลับมากรุงเทพฯ ราวช่วงปี 2537

โตเร็วมากตำแหน่งละปีสองปีเท่านั้น  เป็นพลตรีตอนอายุ 44 ปี ซึ่งไม่ใช่ท็อปของรุ่น คนที่ท็อปคือ พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ คือการเรียนโรงเรียนนายร้อยสมัยก่อนไม่จำกัดอายุ มาสมัยพี่อ๊อดมีการบีบอายุนิดหน่อย คนแก่สุดห่างกัน 7 ปี ถ้ามาจากนายสิบเขาให้ไม่เกิน 20 ปี ถ้ามาจากจ่า เขาให้ไม่เกิน 22 ถ้ามาจากนักเรียนข้างนอกไม่ให้เกิน 28 พี่อ๊อดเข้าเรียนอายุ 15 ปี ดังนั้นคนแก่สุดของรุ่นจึงห่างกัน 7 ปี

ช่วงเป็นพลตรีได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นหัวหน้าทหารเสือพระราชินี เป็นมาจนกระทั่งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยพัฒนาทหาร จากนั้นติดพลโทอายุ 47 ยังเด็กมากก็เลยเข้าตำแหน่งหลักไม่ได้ เลยต้องไปดูเรื่องกีฬาคนพิการ

ได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ช่วง 1 เมษายน 2547-31 มีนาคม 2548

Visitors: 270,461